การใช้และการดูแลรักษาหน้ากากแบบมีตลับไส้กรอง

Last updated: 30 ส.ค. 2563  |  14879 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การใช้และการดูแลรักษาหน้ากากแบบมีตลับไส้กรอง

การใช้และการดูแลรักษาหน้ากากแบบมีตลับไส้กรอง


ข้อจำกัดในการใช้หน้ากาก

1. ห้ามนำเครื่องช่วยหายใจไปใช้ผิดวิธี
2. ห้ามใช้ชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องช่วยหายใจเพียงชิ้นเดียว ชิ้นส่วนต่างๆต้องใช้ประกอบให้ครบ
3. ห้ามใช้เครื่องช่วยหายใจในบริเวณที่คับแคบ หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจมีการสะสมของอนุภาคต่างๆ หรือบริเวณที่มีการสะสมของอนุภาคต่างๆ หรือบริเวณที่มีออกซิเจนอย่างเพียงพอเท่านั้น
4. เครื่องช่วยหายใจนี้ไม่มีออกซิเจน ฉะนั้นห้ามนำไปใช้บริเวณที่มีปริมาณออกซิเจนไม่ถึง (ต้องไม่ต่ำกว่า 19.5%)
5. ห้ามใช้เครื่องช่วยหายใจในบริเวณที่เป็นอันตรายเฉียบพลันกับชีวิตหรือสุขภาพ
6. ห้ามนำเครื่องช่วยหายใจนี้ไปใช้ป้องกันในบริเวณที่มีอากาศสกปรก ซึ่งอาจจะทะลุเข้าเครื่องช่วยหายใจได้ อาจระคายเคืองต่อผิวหนังหรือทำให้ผิวหนังเป็นแผลได้
7. เครื่องช่วยหายใจต้องสวมให้กระชับใบหน้าของแต่ละคน เพื่อประสิทธิภาพของการป้องกันระบบหายใจ
8. ห้ามใช้เครื่องช่วยหายใจในระหว่างที่มีการระเบิดรุนแรง (รวมไปถึงการพ่นทราย)
9. อ่านฉลากของตลับไส้กรอง และแผ่นกรองทุกครั้งก่อนนำไปใช้งาน และตรวจให้แน่ใจว่าตัวฟอกอากาศ สามารถใช้การได้ เครื่องช่วยหายใจที่ติดฟอกอากาศออกแบบมาใช้สำหรับป้องกันอนุภาคต่างๆ (ฝุ่น ควัน ละออง) เท่านั้น ห้ามนำไปใช้กับ ไอระเหย หรือก๊าซ
10. ห้ามนำเครื่องช่วยหายใจไปป้องกันสารอื่น ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น สารเคลือบโพลียูรีเทน ที่มีกรดเกลือ ไอโซไซแอนเนท
11. ใช้ชิ้นส่วนประกอบต่างๆ และอุปกรณ์ติดตั้ง หรือ ซ่อมแซม เครื่องช่วยหายใจที่เป็นบริษัทผู้ผลิตหรือ จำหน่ายเท่านั้น
12. หากคุณได้รับสัญญาณอันตรายเหล่านี้
- เริ่มหายใจไม่สะดวก
- รู้สึกเวียนหัวหรืออยากอาเจียน
- ได้กลิ่นหรือรสของสิ่งสกปรกต่างๆ
- หรือมีความผิดปกติเกิดกับร่างกาย ให้ออกจากบริเวณนั้นทันที ไปอยู่ในที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์ และหาอุปกรณ์หรือคนแถวนั้นช่วยเหลือ
13. ทดสอบความกระชับของเครื่องช่วยหายใจที่สวมทุกครั้งก่อนเข้าไปทำงานในบริเวณที่ๆ มีอากาศสกปรกห้ามถอดจนกว่าจะอยู่ในบริเวณที่ๆ มีอากาศบริสุทธิ์

การเลือกหน้ากาก

1. ตรวจดูว่าในบริเวณที่ทำงานมีสิ่งสกปรกอะไรบ้าง
2. ชนิดและลักษณะของสิ่งสกปรกเป็นอะไร เช่น ก๊าซ ไอระเหย ฝุ่น ควัน หรือสารประกอบ
3. ปริมาณสิ่งสกปรกที่กำหนด (PEL)หรือปริมาณสิ่งสกปรกแต่ละชนิดที่ทางการแนะนำ
4. ปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของสิ่งสกปรกแต่ละชนิดในอากาศ
5. ปริมาณความเข้มข้นสูงสุดของออกซิเจน บริเวณที่ทำงานมี ออกซิเจนเพียงพอหรือไม่
6. สิ่งสกปรกต่างๆ มีปริมารณเพียงพอ ที่จะต้องเตือนให้ทราบหรือไม่
7. บริเวณที่ทำงานเป็นที่คับแคบ หรือมีความเข้มข้นของสิ่งสกปรกถึงระดับที่กำหนดไว้หรือไม่
8. จำเป็นต้องสวมอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งสกปรกเหล่านั้นหรือไม่
9. เครื่องช่วยหายใจสามารถปกป้องผู้สวมใส่ได้มากน้อยแค่ไหน

คุณสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ผู้เชี่ยวชาญ เช่นนักสุขวิทยาอุตสาหกรรม วิศวกรความปลอดภัย แพทย์ เป็นต้น

การสวมหน้ากากให้กระชับ

การสวมหน้ากากให้กระชับกับใบหน้านั้น ต้องให้ขอบหน้ากากและใบหน้าแนบติดกันสนิทในทุกๆ จุดบนใบหน้า หน้ากากทุกชิ้นที่ผลิตออกมานั้นไม่กระชับพอดี กับใบหน้าทุกคน ดังนั้นก่อนเลือกเครื่องช่วยหายใจมาใช้งานต้องเลือกให้กระชับพอดี กับใบหน้าคนที่สวมเท่านั้น

การบำรุงรักษาหน้ากาก

ต้องทำความสะอาดทุกครั้งและตรวจเช็คอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ชัดว่าหน้ากากอยู่ในสภาพสมบูรณ์ และใช้งานได้ก่อนนำไปใช้ในงานทุกครั้ง ห้ามใช้หน้ากากที่มีส่วนประกอบไม่ครบหรือมีชิ้นส่วนไดส่วนหนึ่งชำรุด แต่ละคนที่ใช้หน้ากากหายใจแล้วทำความสะอาดหลังการใช้งานแต่ละวัน หน้ากากหายใจที่มีคนใช้ร่วมหลายคนต้องทำความสะอาด ตรวจเช็ค และฆ่าเชื้อให้สะอาจหลังจากเสร็จการใช้งานของแต่ละคน

การทำความสะอาดและการดูแลรักษา

1. ถอดตัวฟอกอากาศออก และกำจัดทิ้งอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย ให้สอดคล้องกับข้อบังคับของประเทศรัฐ และท้องถิ่น ห้ามล้างทำความสะอาดตัวฟอกเด็ดขาด
2. ถอดที่ครอบวาล์วหายใจออก จากนั้นถอดฝาวาล์วหายใจเข้า และแผ่นยาง
3. นำที่สวมหน้าและชิ้นส่วนของมันลงในน้ำยาทำความสะอาด-ฆ่าเชื้อที่อุ่น(ประมาณ 120 F ) ตัวเครื่องช่วยหายใจและชิ้นส่วนของมันอาจเช็ดถูเบาๆ ด้วยผ้าหรือแปรงที่มีขนนุ่ม สิ่งแปลกปลอมทั้งปลอมทั้งหลายที่เกาะติดอยู่ที่ฝาวาล์วหายใจออกและที่ตั้งของมัน ต้องค่อยๆ เขี่ยออกอย่างระมัดระวัง
4. ล้างน้ำอุ่นให้สะอาด แล้วเขย่าน้ำที่ค้างอยู่ด้านในออกให้หมดและปล่อยทิ้งให้แห้งสนิท ห้ามนำไดเป่าด้วยความร้อนหรือตากแดดโดยตรง
5. ตรวจเช็คเครื่องช่วยหายใจที่มีรอยแตกและไม่สามารถซ่อมแซมได้อีกแล้วทิ้งและที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- แผ่นยางร้าว ฉีกขาด เป็นรู แตกเป็นเสี่ยงๆ นูนออกมาและบิดเบี้ยว
- สายรัดศีรษะแข็งตึงอย่างถาวรแตกเป็นเสี่ยงๆ หรือมีรอยขาด
- ฝาวาล์วหายใจออกแข็ง บิดเบี้ยว แตกเป็นเสี่ยงๆ
- ที่ครอบวาล์วหายใจออกบิดเบี้ยว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้